วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

Introduction to E-Business and E-Commerce

ผลกระทบของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน 

     - ความนิยมใช้ Social Network และ Virtual World มีมากขึ้น
    - รูปแบบการนำเสนอบนเว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมมากขึ้น
    - มีการพัฒนาในด้านของ Mobile Device ทำให้ Mobile Commerce มีแนวโน้มมากขึ้น
      - LBS : Location Based Service เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวัน

โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานหลายคน พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้ทั่วโลก ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อิทธิพลของ Virtual World ส่งผลให้เด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่เอง เกิดความหลงใหล มีจำนวนผู้เข้าไปในโลกแห่งนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โลกเสมือน 3 มิติหรือโลกเสมือนจริง ในปัจจุบัน มีตัวอย่างให้พวกเราได้เห็นกันหลายรูปแบบ อาทิ
      1.       เครือข่ายสังคม เช่น Hi5, Facebook
      2.      เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd source - Wikipedia
      3.     เครือข่าย bit torrent peer to peer
      4.      เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น You tube, Fickr
      5.     เครือข่ายการพูดคุยกัน เช่น MSN, ICQ, Skype
      6.     เครือข่ายสร้างห้อง Virtual เช่น Camfrog, Video Conference

Location Based Service (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ



บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบของการสร้างสังคมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเป็นที่รวบรวมของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกัน โดยที่นิยมเช่น Hi5   Facebook เป็นต้น โดยในยุคปัจจุบัน มีการหาผลประโยชน์ คือ การหาเงินจากการโฆษณา และการเล่นเกมส์

ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากยังไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรย่อมจะไม่มีทางที่ประสบผลสำเร็จได้


E-Commerce กับ E-Business
E-Commerce

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บคลังสินค้า

ประเภทของ E-Commerce   
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B)
คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C)
คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย


E-business

e-business  คือ การดำเนินกิจกรรมทาง ธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI = Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC = E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM = Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท  ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM = Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP = Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน


The distinction between buy-side and sell side e-Commerce

อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่อง แบบไม่ถาวร ขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตบ้าง

อินทราเน็ต (Intranet)
อินทราเน็ต (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และนำมาใช้เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะและให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน

เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือ ของลูกค้า เป็นต้น
              ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือ ผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น