ความหมาย e-government
e-governmentหรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ
และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน
และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น
โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐโดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน
ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง
ผลพลอยได้ที่สำคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนำไปสู่การลดคอรัปชั่นหากเทียบกับ e-commerce แล้ว e-governmentคือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย
เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ
โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก
กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐาน ของe-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น
มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย
และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้
การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ
รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-governmentไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ
แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน
ไม่เฉพาะภายในประเทศ
แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั้นเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ e-commerce มาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ
เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ
บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น การดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น
และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2Cระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ
ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
B2C ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
B2B ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
G2G ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
G2C ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizen)
G2B ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
G2E ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)
1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง
โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ
เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์
เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน
โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง
มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น
การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ
ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบเดิมในระบบราชการเดิม
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
เป็นกระบวนการจัดซ้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ
บนระบบอินเทอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
- การตกลงราคา
- การประกวดราคา
- การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
- การประมูล
วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
(E-Procurement)
- เพื่อเพิ่มประสิทธิในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
- เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากเดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง
1. ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน
การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
2. ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
- ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่นการจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณมากไม่สามารถทำผ่านระบบ E-catalog การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐบาลเข้าด้วยกัน
- ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่นการจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณมากไม่สามารถทำผ่านระบบ E-catalog การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐบาลเข้าด้วยกัน
- ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก
และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์
การจัดหาบริการทำความสะดวก
คุณภาพและบริการของผู้ค้าแต่ละรายไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
การตัดสินใจเลือกได้จากราคาเกณฑ์ โดยวิธีการประมูลทั้งแบบ Forward Auction กับ Reverse Auction